วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกการจัดการ 60 ห้อง A

อาจารย์ ธภัทร   ชัยชูโชค  อาจารย์ปล์าม
001 นาวสาวกรรภิรมย์ ติระพัฒน์ เอิง
002 นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด
003 นายเกียรติศักดิ์ ดำด้วง เอ็ม
004 นายจีรุตม์ ศรีราม บิ๊ก
005 นายชนัตถ์ จันทร์วงค์ นัท
006
007  นางสาว ฐานิญา ช่วยบำรุง พะแพง
008  
009
010  นาย ตะวัน แซ่ซำ การ์ด
011  นายธนพงษ์ ไชยนุรักษ์ บ่าวบูม
012  นาย ธวัช บัวก่น บอล
013  นางสาว ธิดารัตน์ เรืองเหมือน แพร
014
015 นายนันทวุฒิ ช่วยมณี หลวงบ่าว
016  นาย นิติกรณ์   ยอดสุวรรณ์ น๊อต
017 
018 นายประพัฒน์พังษ์ ทองเอม บ่าวนุ๊ก
019 นายปิยวิทย์ สังข์เศรษฐ์ น้องวิทย์
020
021 นางสาว เพรชลดา  สุวรรณเดชา  ฝน
022
023 นายภาคภูมิ ใจสมุทร ภูมิ
024 นาย มูฮัยมีน  ยะเลซุ  มีน
025 นาย ยูโซฟ ใบตาเย๊ะ กำน้น
026 นายรุซดีย์ ยะลิน ดี้
027 นางสาวลัดดาวรรณ แก้วเจริญ ปล์าม
028 นาย วรายุทธ ชูบุญลาภ แม็ก
029   
030 นางสาววารีซ่า บาราสัน วาว่า
031 นางสาวศเร๊าะต้า หมัดบก ต้า
032 นายศัตยา เเซ่เอี่ยม บ่าวเเดน
033
034นายสถิตย์ พิชัยบัณฑิตย์  แสน
035
036
037 นางสาวสุทธิณี บุญธรรม พิกุล
038 นางสาวสุธารส หมื่นชนม์ น้องแบ็มบี้
039  นางสาวสุภาพร ทองเเย้ม น้องเเก้ว
040
041
042 นาย อนุวัฒน์ ค้ำชู เอ็ม
043 นายอรรถชัย ชูสังข์ กล์อฟ
044 นายอลังการ เเท่งทอง บ่าวจ๊ะจ๋า
089

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบส่งถ่ายวัสถุอัตโนมัติ


ระบบสายพานลำเลียง

Daifuku สามารถออกแบบการจัดเรียงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับ
ตำแหน่งของการจัดส่งและการผลิต ซึ่งจำนวนและปริมาณจะมีขนาดเล็กลง
เพื่อสอดคล้องกับความต้อง
การของผู้บริโภคที่หลากหลายและซับซ้อน ผลิตภัณธ์ของเราไม่ได้พัฒนา
เพียงแค่ประสิทธิภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบริการจัดส่งที่เหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพว่าสินค้าจะไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ เรายังมีระบบขนส่ง
ที่ตรงตามความต้อง
การให้อุปกรณ์กึ่งตัวนำมีขนาดเล็กลงและความต้องการแผ่นกระจกที่ใสบริสุทธิ์ 
ระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ในทุก ๆ กระบวนการและระบบ
สายพานสำหรับการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระที่สนามบิน Daifuku มุ่นมั่นที่จะปรับ
ปรุงโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้นโดย     การลดระยะเวลาและต้นทุน 


            
                              รถ  AGV
รถขนส่งอัตโนมัติหรือรถ ลําเลียงอัตโนมัติ (Automated Guided Vehicle - AGV) จึงได้เข้ามามีบทบาทสําคัญในการบวนการการ พัฒนาหรือปรับปรุงสายการผลิตเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากรถ AGV สามารถนําไปใช้ในงานขนส่งลําเลียง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์จากตําแหน่งหนึ่งไปสู่อีกตําแหน่งหนึ่งได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การลากจูง การยก ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ทั้งที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติซึ่งการนํารถ AGV เข้ามาสู่สายการผลิตนั้น หลายกิจการอาจมองว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงรถ AGV กลับมีความคุ้มค่าหรือผลดีในหลายด้านทั้งทางตรงและทางอ้อม
- รถ AGV สามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ - รถ AGV ทํางานได้ตรงเวลา ไม่ต้องการเวลาหยุดพัก และไม่ลาหยุดหรือลากิจ - รถ AGV ลดความผิดพลาดจากคน เช่น การขับเฉี่ยว ชน ที่เกิดจากความประมาท - รถ AGV ลดความล่าช้าของการส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์จากพนักงานขับ และการจราจรในโรงงาน - รถ AGV สามารถรับน้ําหนักได้มาก จึงลดความเมื่อยล้าจากพนักงานเข็นขนส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ - รถ AGV ลดปัญหามลพิษในโรงงาน เนื่องจากใช้แบตเตอร์รี่ - รถ AGV สามารถลดค่าใช้จ่ายจากค่าแรงงานและค่าบํารุงรักษารถขนส่ง (โฟล์คลิฟท์) เป็นต้น
ชุดสั่งงาน เป็นชุดสั่งงานการเคลื่อนที่ของรถ AGV เป็นแบบปุ่มกด หรือแบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) เพื่อเลือกคําสั่ง ความเร็ว ตําแหน่ง หรือการทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งให้รถ AGV ทํางานต่อไป เซ็นเซอร์ตรวจจับแถบแม่เหล็ก จะใช้ร่วมกับแถบเส้นแม่เหล็กที่วางฝังบนพื้นเป็นแนวทางเดินของรถ AGV เซ็นเซอร์เป็นระบบแมกเนติกหลายบิตเรียงเป็นแนวยาวตรวจจับการเหนี่ยวนําขวางไปกับแถบเส้นแม่เหล็ก และที่ต้องมีจํานวนหลายบิตเพื่อเป็นการตรวจสอบแนวทางเดินสําหรับการเขียนโปรแกรมไม่ให้รถ AGV หลุดไปจากแถบเส้นแม่เหล็ก เซ็นเซอร์กําหนดคําสั่งนําทาง เป็นเซ็นเซอร์แมกเนติกที่ใช้ร่วมกับแถบแม่เหล็กแบบมีทิศเหนือ-ใต้วาง สลับกัน สําหรับเป็นรหัสการสั่งงานให้รถ AGV ให้ชะลอความเร็ว จอดตามสถานีหรือกระทํางานอย่างใดอย่าง หนึ่ง ซึ่งรหัสแถบแม่เหล็กสามารถวางได้ทั้ง 2 ฝั่งขนานไปกับแถบแม่เหล็ก ในปัจจุบันได้นําระบบ RFID Tag เข้ามาใช้งานแทน เซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวาง เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของรถ AGV ใช้ระบบเลเซอร์ตรวจจับ ความเคลื่อนไหว และสิ่งกีดขวาง เมื่อมีวัตถุมาขวางรถ AGV ในพื้นที่ที่เซ็นเซอร์ตรวจจับได้รถ AGV จะมีการ สั่งงานให้ชะลอความเร็วและหยุดการเคลื่อนที่ ระบบประมวลผล เป็นศูนย์กลางการควบคุมของรถ AGV ที่รับคําสั่งจากชุดสั่งงาน และเซ็นเซอร์ต่างๆ มาประมวลผลให้ระบบขับเคลื่อนของรถ AGV เคลื่อนที่ รักษาตําแหน่งตามแถบเส้นแม่เหล็ก หยุด และจอด ตามสถานีสําหรับระบบประมวลผลสามารถใช้ได้ทั้งแบบไมโครคอนโทรลเลอร์หรือแบบพีแอลซีตามความ ถนัดของผู้พัฒนา ระบบขับเคลื่อน เป็นระบบที่รับคําสั่งมาจากระบบประมวลผลผ่านชุดขับมอเตอร์ไปควบคุมการ ทํางานของมอเตอร์สองตัวที่ติดตั้งกับล้อขับ ให้เคลื่อนที่ เลี้ยวซ้าย-ขวา ขะลอความเร็ว และหยุดรถ AGV ไฟและเสียง เป็นระบบความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่คอยแจ้งเตือนแก่ผู้ปฎิบัติงานให้ทราบว่ารถ AGV มี การทํางานอยู่ เพื่อไม่ให้ผู้ปฎิบัติงานกีดขวางการเคลื่อนที่ของรถ AGV แบตเตอรี่ไฟฟ้า เป็นแหล่งพลังงานในการจ่ายไฟกระแสตรงให้กับส่วนต่างๆ ขนาดของแบตเตอรี่เป็น สิ่งหนึ่งที่ต้องคํานึงถึงเพื่อให้รถ AGV สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถประจุกระแสไฟ ให้แบตเตอรี่แบบไร้สาย (Wireless Charger) กล่าวคือ เมื่อรถ AGV หยุดอยู่ในตําแหน่งหัวชาร์จก็จะมีการ ชาร์จไฟเข้าในแบตเตอรี่โดยไม่มีการสัมผัส ทําให้ลดความยุ่งยากในการชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ จากส่วนประกอบที่กล่าวมา เห็นได้ว่าการพัฒนารถ AGV ขึ้นใช้ภายในโรงงานไม่ได้มีส่วนที่ซับซ้อน ชิ้นส่วนเกือบทุกชิ้นสามารถหาซื้อหรือประยุกต์ใช้ได้กับของที่มีในประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคํานึงถึงคือเรื่องของ โปรแกรมการควบคุมรถ AGV ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบประมวลผลด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์หรือพีแอลซีก็ ตาม ยกตัวอย่างเช่น การโปรแกรมควบคุมรถ AGV ให้หยุดในสถานีต่างๆ การโปรแกรมแบบเปิด (Open Loop Control) สามารถทําให้รถ AGV ที่ไม่มีโหลดหยุดในสถานีต่างๆ ได้ตรงตําแหน่ง แต่เมื่อรถ AGV มีการ บรรทุกสิ่งของน้ําหนักมากขึ้นระยะการหหยุดรถจะต้องมากขึ้นด้วย 


วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์

หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม (Industrial Robot Type) | AppliCAD Co., Ltd.

อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation Technology) เข้ามาใช้งานเพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งในเรื่องราคา และคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ อาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์อยู่บ่อยๆ ต้องใช้เวลาในการ Set Up ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เนื่องจากการเปลี่ยนการทำงานสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรม นอกจากนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานเดียวกัน
การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเลียนแบบร่างกายของมนุษย์ โดยจะเลียนแบบเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นคือช่วงแขนของมนุษย์ ดังนั้น บางคนอาจจะได้ยินคำว่า “แขนกล” ซึ่งก็หมายถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนมนุษย์ แสดงดังรูป
ปัจจุบันและในอนาคตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยจะทำงานแทนมนุษย์ในงานต่างๆ เหล่านี้งานที่อันตราย เช่น งานยกเหล็กเข้าเตาหลอม งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี งานซ้ำซากน่าเบื่อ เช่น งานยกสินค้าจากสายงานการผลิต งานประกอบ งานบรรจุผลิตภัณฑ์งานที่ต้องการคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน เช่น งานเชื่อม งานตัด งานที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญสูง เช่น งานเชื่อมแนว เชื่อมเลเซอร์ งานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีต เช่น งานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ งานตรวจสอบ (Inspection) ฯลฯ
หุ่นยนต์ คือ เครื่องจักรที่ถูกควบคุมอัตโนมัติ สามารถเขียนโปรแกรมใหม่ได้ ใช้งานเอนกประสงค์ โปรแกรมการเคลื่อนที่จะต้องสามารถโปรแกรมให้เคลื่อนที่ได้อย่างน้อย 3 แกนหรือมากกว่า หุ่นยนต์อาจจะยึดอยู่กับที่หรือย้ายตำแหน่ง (Mobile) เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม
การแบ่งชนิดของหุ่นยนต์
โดยทั่วไปการแบ่งชนิดของหุ่นยนต์จะแบ่งตามลักษณะรูปทรงของพื้นที่ทำงาน (Envelope Geometric) แต่ก่อนจะอธิบายชนิดของหุ่นยนต์ขออธิบายการทำงานของจุดต่อ (Joint) ของหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมซึ่งในขั้นพื้นฐานมี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
จุดต่อ (Joint) ทั้งสองแบบเมื่อนำมาต่อเข้าด้วยกันอย่างน้อย 3 แกนหลักจะได้พื้นที่ทำงาน (Work envelope) ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถนำมาแบ่งชนิดของหุ่นยนต์ได้ดังต่อไปนี้
1. Cartesian (Gantry) Robot
แกนทั้ง 3 ของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เป็นแบบเชิงเส้น (Prismatic) ถ้าโครงสร้างมีลักษณะคล้าย Overhead Crane จะเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ชนิด Gantry แต่ถ้าหุ่นยนต์ไม่มีขาตั้งหรือขาเป็นแบบอื่น เรียกว่า ชนิด Cartesian
Cartesian Robot Work Envelop Of Cartesian Robot

ข้อดี 
1. เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงทั้ง 3 มิติ
2. การเคลื่อนที่สามารถทำความเข้าใจง่าย
3. มีส่วนประกอบง่ายๆ
4. โครงสร้างแข็งแรงตลอดการเคลื่อนที่

ข้อเสีย
1. ต้องการพื้นที่ติดตั้งมาก
2. บริเวณที่หุ่นยนต์เข้าไปทำงานได้ จะเล็กกว่าขนาดของตัวหุ่นยนต์
3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุจากทิศทางข้างใต้ได้
4. แกนแบบเชิงเส้นจะ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลวได้ยาก
การประยุกต์ใช้งาน
เนื่องจากโครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดแนวการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานเคลื่อนย้ายของหนักๆ หรือเรียกว่างาน Pick-and-Place เช่น ใช้โหลดชิ้นงานเข้าเครื่องจักร (Machine loading) ใช้จัดเก็บชิ้นงาน (Stacking) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานประกอบ (Assembly) ที่ไม่ต้องการเข้าถึงในลักษณะที่มีมุมหมุน เช่น ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงาน Test ต่างๆ
2. Cylindrical Robot
หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีแกนที่ 2 (ไหล่) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) เป็นแบบ Prismatic ส่วนแกนที่ 1 (เอว) จะเป็นแบบหมุน (Revolute) ทำให้การเคลื่อนที่ได้พื้นที่การทำงานเป็นรูปทรงกระบอก ดังรูป
Cylindrical Robot Work Envelop Of Cylindrical Robot
ข้อดี
1. มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
3. สามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีการเปิด – ปิด หรือเข้าไปในบริเวณที่เป็นช่องหรือโพรงได้ง่าย (Loading) เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. แกนที่เป็นเชิงเส้นมีความยุ่งยากในการ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลว
การประยุกต์ใช้งาน
โดยทั่วไปจะใช้ในการหยิบยกชิ้นงาน (Pick-and-Place) หรือป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องจักร เพราะสามารถเคลื่อนที่เข้าออกบริเวณที่เป็นช่องโพรงเล็กๆ ได้สะดวก
3. Spherical Robot (Polar)
มีสองแกนที่เคลื่อนในลักษณะการหมุน (Revolute Joint) คือแกนที่ 1 (เอว) และแกนที่ 2 (ไหล่) ส่วนแกนที่ 3 (ข้อศอก) จะเป็นลักษณะของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง ดังรูป
Spherical Robot Work Envelop Of Spherical Robot
ข้อดี
1. มีปริมาตรการทำงานมากขึ้นเนื่องจากการหมุนของแกนที่ 2 (ไหล่)
2. สามารถที่จะก้มลงมาจับชิ้นงานบนพื้นได้สะดวก
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) และส่วนประกอบ ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมมีความซับซ้อนขึ้น
การประยุกต์ใช้งาน
ใช้ในงานที่มีการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (Vertical) เพียงเล็กน้อย เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าออกจากเครื่องปั้ม (Press) หรืออาจจะใช้งานเชื่อมจุด (Spot Welding)
4. SCARA Robot
หุ่นยนต์ SCARA (Selective Compliance Assembly Robot Arm) จะมีลักษณะแกนที่ 1 (เอว) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) หมุนรอบแกนแนวตั้ง และแกนที่ 2 จะเป็นลักษณะการเคลื่อนที่ขึ้นลง (Prismatic) ดังรูป หุ่นยนต์ SCARA จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูง
SCARA Robot Work Envelop Of SCARA Robot
ข้อดี
1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว
2. มีความแม่นยำสูง
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. ไม่สามารถหมุน (rotation)ในลักษณะมุมต่างๆได้
3. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก
การประยุกต์ใช้งาน
เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวระนาบและขึ้นลงได้รวดเร็วจึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องการความรวดเร็วและการเคลื่อนที่ก็ไม่ต้องการการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) ซึ่งส่วนใหญ่การประกอบจะอาศัยการหมุน (Rotation)ในลักษณะมุมต่างๆ นอกจากนี้ SCARA Robot ยังเหมาะกับงานตรวจสอบ (Inspection) งานบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
5. Articulated Arm (Revolute)
ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน ดังรูป
Articulated Arm Robot Work Envelop Of Articulated Robot
ข้อดี
1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะ ของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่างๆ
2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำ ได้ง่าย
3. มีพื้นที่การทำงานมาก
4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง
5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นชุดขับเคลื่อน
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมทำความ เข้าใจได้ยากขึ้น
3. ควบคุมให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear) ได้ยาก
4.โครงสร้างไม่มั่นคงตลอดช่วงการเคลื่อนที่ เพราะบริเวณขอบ Work Envelope ปลายแขนจะ
5. มีการสั่น ทำให้ความแม่ยำลดลง

การประยุกต์ใช้งาน

หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม Spot Welding, Path Welding, งานยกของ, งานตัด, งานทากาว, งานที่มีการเคลื่อนที่ยากๆ เช่น งานพ่นสี งาน Sealing ฯลฯ
การเลือกหุ่นยนต์ชนิดต่างๆ มาใช้งาน ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการให้หุ่นยนต์ทำดังที่อธิบายไว้ตอนต้น

หุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์






          โลกแห่งเทคโนโลยีใบนี้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะมนุษย์เราไม่เคยหยุดคิดค้น และทดลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบคำถามในสิ่งที่สงสัยใคร่รู้ ถึงทุกวันนี้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากการค้นคว้าและพัฒนาขึ้นมาทั้งนั้น ความชาญฉลาดของมนุษย์เช่นนี้ทำให้เกิดความคิดที่จะสร้างหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2529 โดยได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนในที่สุด ความฝันก็กลายเป็นความจริง อาซิโม ASIMO หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ตัวแรกได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2543
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ASIMO กลับมาตอกย้ำความสำเร็จและสร้างความตาตื่นใจให้กับทุกคน โดยเฉพาะเด็กๆ วัยซนที่ออกจะตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อได้เห็นอาซิโม ในงานถนนเทคโนโลยี เมื่อเร็ว ๆ นี้          
          อาซิโมมีความสามารถหลายอย่าง เริ่มจากการเดิน อาซิโมเดินได้ด้วยเทคโนโลยี i-WALK ที่คอยควบคุมการทรงตัวให้สามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคงต่อเนื่อง แม้ในขณะเปลี่ยนทิศทาง โดยไม่ต้องหยุดชะงัก ทุกส่วนในร่างกายของอาซิโมจะเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันในขณะเคลื่อนที่ อาซิโมจึงไม่เสียหลักหรือหกล้ม อาซิโมก้าวเดินขึ้นและลงบันไดได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ในลักษณะของเท้าขวาก้าวนำและเท้าซ้ายก้าวตามเป็นจังหวะ ข้อต่อบริเวณหัวเข่าทั้ง 2 ข้างจะย่อลงทำให้อาซิโมสามารถรักษาสมดุลของร่างกาย ในขณะเดินขึ้นลงบันไดได้
         นอกจากจะก้าวเดินได้อย่างมั่นคงแล้ว อาซิโมยังมีความสามารถในการหลบหลีกเมื่อมีคนเข้าใกล้ โดยกำหนดตำแหน่งผู้ที่เข้าใกล้ผ่านกล้องรับภาพที่ตา ทำให้สามารถคำนวณทิศทาง ความเร็ว ระยะทาง คาดการณ์ความเคลื่อนไหว ของผู้ที่กำลังเข้าใกล้ และเลือกเส้นทางเดินที่เหมาะสม อีกทั้งยังเดินถอยหลังเพื่อเปิดทางให้ผู้อื่นได้ด้วย
          ตามร่างกายของอาซิโมมีข้อต่ออยู่ถึง 34 ตัว จึงทำให้อาซิโมเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเป็นธรรมชาติ สามารถโน้มตัว หมุนตัว หมุนเท้า กางแขน รวมไปถึงการเต้นเข้าจังหวะเพลง หรือเคลื่อนตัวไปทางด้านข้างในลักษณะการเต้นแบบฮาวายได้ และยังสามารถยกมือขึ้นไหว้และโบกมือทักทายได้เช่นเดียวกับมนุษย์
          เมื่อต้องการวิ่ง เท้าด้านขวาของอาซิโมจะก้าวไปด้านหน้าและตามด้วยเท้าซ้ายในลักษณะที่สมดุลต่อร่างกาย ทำให้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระหว่างที่วิ่งนั้นจะมีจังหวะหนึ่งที่เท้า 2 ข้างจะลอยเหนือพื้นเป็นเวลา 0.08 วินาที และเมื่อเท้าสัมผัสพื้น อาซิโมก็ยังสามารถทรงตัวได้ดี เพราะวิศวกรได้ออกแบบให้อาซิโมมีการกระโดดที่แม่นยำสามารถรับการกระแทกขณะถึงพื้นได้ดี ป้องกันการลื่นไถล และทรงตัวขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
หุ่นยนต์เทคโนโลยี          นอกจากเดิน วิ่ง เต้นได้เช่นเดียวกับมนุษย์แล้ว อาซิโมยังถูกออกแบบให้ทำงานในชีวิตประจำวันได้ด้วย ไม่น่าเชื่อเลยว่าอาซิโมจะสามารถปิดสวิตช์ไฟ เปิดประตู และเสิร์ฟน้ำได้โดยไม่หกเลย เมื่อได้ยินเสียงเรียกชื่อ อาซิโมก็ยังหันไปตามเสียงเดินไปหาคนที่เรียกอาซิโม และหยุดเมื่อได้รับคำสั่ง นับเป็นหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดล้ำยุคจริง
          ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะความมุ่งมั่นตั้งใจค้นคว้า และทดลองอย่างต่อเนื่องของทีมวิศวกร ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เราบอกกับตัวเองได้อย่างหนึ่งว่า “ไม่มีสิ่งใดที่เกินความพยายามของมนุษย์” อย่างเราไปได้ เชื่อว่าในวันข้างหน้าอาซิโมจะถูกพัฒนาความสามารถ และทำหลายๆ อย่างให้เราได้ทึ่งกันอีกอย่างแน่นอน

             หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

Image result for หุ่นยนต์กู้ระเบิดต่างประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหมได้เผยโฉมหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่พัฒนาขึ้น เพื่อทดสอบใช้งานเบื้องต้น และเปิดเวทีสัมมนานิทรรศการในหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการทหารในอนาคตและการปฏิบัติการทางด้านการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด







เครื่องกลึง CN CNC DNC

                     เครื่องกลึง NC  

        N ย่อมาจาก  Numerical หมายถึง รหัสตัวเลข เช่น 0 , 1 , 2 , 3 , 4 ถึง 9 , รหัสตัวอักษร  เช่น A , B

, C ถึง Z และรหัสสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น เครื่องหมาย + , - , # , ; และ % 

         C  ย่อมาจาก Control หมายถึงการควบคุมโดยการกำหนดค่าของรหัสตัวเลขตัวอักษรสัญลักษณ์

เพื่อต้องการให้เครื่องจักรทำงานตามค่าที่กำหนด

ฉะนั้น  NC หมายถึง การควบคุมการเคลื่อนที่และการทำงานของเครื่องจักรกลด้วยรหัสคำสั่ง ที่ประกอบ

ไปด้วยรหัสตัวเลข  , รหัสตัวอักษรและรหัสสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปควบคุมเครื่องจักรให้เกิดการ

เคลื่อนที่ตามทิศทางที่กำหนด  โดยที่รหัสดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้ า ( Pulse ) และ ส่งไป

ยังมอเตอร์เพื่อกระตุ้นหรือควบคุ้ม

เครื่องกลึง  CNC

C  ย่อมาจาก  Computer หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งภายในเครื่องจักร

         N ย่อมาจาก  Numerical หมายถึง รหัสตัวเลข เช่น 0 , 1 , 2 , 3 , 4 ถึง 9 , รหัสตัวอักษร  เช่น A , B

, C ถึง Z และรหัสสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น เครื่องหมาย + , - , # , ; และ %

         C  ย่อมาจาก Control หมายถึงการควบคุมโดยการกำหนดค่าของรหัสตัวเลขตัวอักษรสัญลักษณ์

เพื่อต้องการให้เครื่องจักรทำงานตามค่าที่กำหนด

        CNC ย่อมาจาก Computer Numerical Control คือการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุม การทำงานของ

เครื่องจักรั โดยอาศัยรหัสตัวเลขรหัสตัวอักษรและรหัสสัญลักษณ์ต่าง ๆ

ข้อดีของการใช้เครื่องจักร CNC  
          
           1. ใช้เวลาในการผลิต ( Production Time ) สั้นกว่าเครื่องจักรทั่วไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เครื่องกัด cnc           2.มีความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิตสูง 

           3.ผลิตชิ้นงานที่มีรูปทรงซับซ้อนได้ง่าย

           4.ลดความจำเป็นที่ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญทักษะและประสบการณ์สูงในการผลิตชิ้นงาน

           5.ชิ้นงานได้ขนาดและมีความเที่ยงตรง ( Accuracy ) ทุกชิ้น

           6.ประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการผลิตชิ้นงานที่เหมือน ๆ กันเป็นจำนวนมาก ๆ


ข้อเสียของการใช้เครื่องจักร CNC  
      
         1.ราคาเครื่องจักร CNC ค่อนข้างสูง

          
          2. การซ่อมบำรุงมีความซับซ้อนมากต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูง 

          3. จําเป็นต้องใช้ช่างเขียนโปรแกรมที่มีทักษะและประสบการณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ

          4. ชิ้นส่วนหรืออะไหล่ของตัวเครื่องจักร CNC ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเพราะภายใน ประเทศไม่สามารถผลิตได้

  
    

  เครื่องกลึง  DNC

Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

          SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม

          SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย

คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
          1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC

          
2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
Image result for เครื่องกลึง DNC          3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
          4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
          5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย

     





  การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินกาต่ไปได้

สมาชิกการจัดการ 60 ห้อง A

อาจารย์ ธภัทร   ชัยชูโชค   อาจารย์ปล์าม 001   นาวสาวกรรภิรมย์ ติระพัฒน์ เอิง 002  นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด 003  นาย เกียรติศัก...